บทความวิชาการ

ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธธรรม

ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธธรรม : Leadership is desirable in Buddhism.      พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์)Phramaha Narin surapinyo (emphan)
อาจารย์พิเศษวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

บทคัดย่อย                                                                      สังคมปัจจุบันบทบาทสำคัญของภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธธรรมเป็นหลัdที่ผู้นำทุกคนต้องมีซึ่งในปัจจุบันความเจริญด้านวัตถุนิยมได้แผ่หลายทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมต่างคนต่างมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์ตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะต่างก็ตกอยู่ในอำนาจวัตถุนิยมโดยมองข้ามหลักคุณธรรมจริยธรรมอันดีทำให้เห็นห่างจากหลักพุทธธรรมไป ผู้นำที่ประพฤติตนตามหลักธรรมนั้นหายาก ผู้นำที่ไร้ธรรมย่อมไม่สามารถจะยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นได้ซ้ำยังทำให้ผู้ตามเกิดความไม่เคารพไม่นับถือ ไม่เป็นที่น่าวางใจ จนกระทั้งไร้ภาวะผู้นำ
พุทธธรรม คือ หลักธรรมสำหรับผู้นำที่พึงประสงค์ ผู้นำจำเป็นจะต้องมีหลักธรรมจึงสมควรจะเป็นผู้นำได้ เช่น มีคุณความดี มีความรู้ และความสามารถ เป็นต้น ผู้เขียนมุ่งเน้นถึงหลักธรรมส าหรับผู้นำที่พึงประสงค์ คือ ทศพิธราชธรรม สัปปุริสธรรม และพรหมวิหารธรรมเท่านั้น
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำ, พุทธธรรม, ความพึงพอใจ

อ่านฉบับเต็ม  

บทความวิชาการ

บทบาทพระพุทธศาสนาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคม

บทบาทพระพุทธศาสนาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคม                                                       โดย พระอธิการสุรศักดิ์ สุขุมาโล *
คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ  

          การดําเนินชีวิตในปัจจุบันต้องทํามาหาเลี้ยงชีพเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยสี่ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตและยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีสิ่งอํานวยความสะดวกมากมาย ก็ยิ่งต้องใช้ปัจจัยในการแสวงหาสิ่งเหล่านั้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ปัญหาเศรษฐกิจ มีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบถึเศรษฐกิจประเทศไทยรวมทั้งเศรษฐกิจของชุมชนด้วยหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีควาสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เรียกว่า หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ประโยชน์ในภพปัจจุบัน คือ มีความขยันหมั่นเพียร ในการปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพที่สุจริต เก็บรักษาโภคทรัพย์ ด้วยกําลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย คบหาคนดีเป็นมิตร ผู้มีความสามารถ รู้จักกําหนดรายได้และรายจ่ายเป็นอยู่พอดีสมรายได้มีประหยัดเก็บไว้อันเป็นหลักการดําเนินชีวิตให้เกิดความพอเพียงอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม เมื่อทําได้ครบเช่นนี้แล้วก็ย่อมที่จะสามารถตั้งตัวได้ มีทรัพย์สมบัติ มีฐานะมั่นคง และมีความสุขในโลกนี้ ไม่ต้องทุกข์เพราะความยากจน เป็นลูกหนี้เขา เรื่องนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วย
คําสําคัญ: พระพุทธศาสนา, เศรษฐกิจสังคม

อ่านฉบับเต็ม